Bangkok House Builder
- ที่อยู่: 8 ซอยอ่อนนุช 46 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
- โทรศัพท์: 02-721-3999
- https://bhb.co.th/v2/index.php
สวนครัวดาดฟ้า และการทำเกษตรในเมืองเป็นทั้งงานอดิเรกและเป็นแหล่งอาหารที่สะอาดปลอดภัย โดยพื้นที่ที่เหมาะสำหรับทำเกษตรในเมืองหรือบ้านที่มีพื้นดินจำกัด คือ ดาดฟ้าหรือระเบียงที่ได้รับแสงแดดตลอดวัน มาดูวิธีการเตรียมพื้นที่สำหรับทำสวนครัวดาดฟ้ากัน สวนครัวดาดฟ้า และรูปแบบการปลูกผักสวนครัว แปลงผักที่ดีควรวางในแนวเหนือใต้ พืชจะได้รับแสงแดดมากกว่าการปลูกในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งสามารถปลูกได้หลายรูปแบบตามลักษณะพื้นที่และประเภทของพืช เช่น สวนครัวแบบแปลงผัก สวนครัวเลื้อย สวนครัวแนวตั้ง สวนครัวแบบโรงเรือน สวนครัวดาดฟ้า ดูบ้านมีสวนดาดฟ้าสวยๆ : บ้านเวียดนามที่มุงหลังคาบ้านด้วยแปลงผักสวนครัว สวนผักบนดาดฟ้า ห้องทดลองปลูกของ “แพรี่พาย” วางแผนแบ่งโซน ตำแหน่งที่แข็งแรงที่สุดของพื้นดาดฟ้าคือ ตรงตำแหน่งเสาอาคาร รองลงมาคือแนวคานโครงสร้าง ดังนี้ถ้าจะวางวัตถุที่มีน้ำหนักมากและไม้พุ่มสูงควรวางตามแนวเสาและคาน บริเวณใกล้แนวคานเหมาะกับการรับน้ำหนักปานกลาง เช่น ไม้พุ่มเตี้ยที่ใช้ดินลึก 30-50 เซนติเมตร ส่วนบริเวณพื้นดาดฟ้าควรวางวัตถุที่มีน้ำหนักน้อย ทำเป็นทางเดินหรือปูวัสดุปูพื้นเป็นพื้นที่พักผ่อน ตรวจสอบสภาพอาคาร หากวางแผนจัดสวนและปลูกผักสวนครัวเป็นพื้นที่กว้างซึ่งมีการเพิ่มน้ำหนักให้อาคารเดิมมาก ควรให้วิศวกรมาตรวจสอบสภาพและการรับน้ำหนักของโครงสร้างอาคาร รวมถึงตรวจสภาพการแตกร้าวและการรั่วซึม โดยมี 2 จุดที่มักพบ คือ รอยต่อผนัง พื้นดาดฟ้ากับผนังมักจะทำแยกชิ้นกัน ทำให้เนื้อคอนกรีตพื้นและผนังไม่ผสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเกิดการแตกร้าวบริเวณรอยต่อนี้ได้ง่าย พื้นดาดฟ้า การใช้วัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทหรือการบ่มคอนกรีตไม่ดี และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นสาเหตุให้เกิดการแตกร้าวเป็นเส้นตรงและรูปตีนกา ซึ่งมีทั้งร้าวที่ผิวและร้าวลึกลงในเนื้อคอนกรีต การซ่อมแซมรอยแตก สามารถซ่อมแซมรอยแตกหรือรอยต่อด้วยซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างด้วยวิธีการดังนี้ ทำความสะอาดพื้นผิว […]
บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]
ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]