Mutantx Architects
- ที่อยู่ : 80/711 ทิพวัล 53 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
- โทรศัพท์ : 081 859 1998
- Facebook : mutantx.architects
พื้นที่สีเขียวกับความหลากหลายทางชีวภาพมีความสัมพันธ์กัน ถ้าเรามองง่ายๆ พื้นที่ประกอบด้วยต้นไม้ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ก็นับเป็นพื้นที่สีเขียวแล้ว และพื้นที่เหล่านั้นจะนำมาความหลากหลายทางชีวภาพ นั่นคือ เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีพันธุ์พืชหลากชนิด พันธุ์สัตว์ที่หลากหลาย รวมไปถึงจุลินทรีย์ในดิน ในพืชและอากาศ บ้านและสวนมีโอกาสพูดคุยกับ คุณประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชี้ให้เราเห็นอย่างหนักแน่นว่า พื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็น “โครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่น่าอยู่” “เมืองไม่ได้มีแค่ตึกรามบ้านช่อง ถ้ามีพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่นันทนาการ เมืองก็น่าอยู่ สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นเพราะว่าต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มช่วยกรองอากาศ กรองมลพิษได้ ยิ่งพื้นที่นั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น คนอาจมาใส่ใจเรียนรู้ว่านี่พืชอะไร ต้นอะไร บางทีอาจมีพืชสมุนไพร แล้วทำไมจึงมีแมลง นก ผีเสื้อเหล่านี้อยู่ และยังส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้คนด้วย ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะใกล้บ้านก็ตาม คนได้ออกมาพักผ่อน มาออกกำลังกาย อีกเรื่องคืออาหาร เพราะพื้นที่ที่มีความหลากหลายมีพันธุ์พืชจำนวนมาก รวมถึงพืชสมุนไพรและผักสวนครัวที่เราเก็บมารับประทานก็ถือว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพอย่างหนึ่ง คุณอาจประหยัดเงินก้อนเล็กๆ จากการปลูกพืชและกินผักสวนครัวได้ซึ่งส่งต่อให้กลายเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ” ความหลากหลายไม่จำกัดขนาด ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พื้นที่สีเขียวในแต่ละเมืองควรมีอย่างน้อย 9 ตารางเมตรต่อคน ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีเพียง 7.49 ตารางเมตรต่อคน นับว่ายังน้อยกว่าเกณฑ์ ภาครัฐจึงพยายามผลักดันผ่านนโยบายและส่งเสริมในเชิงกฎหมาย เช่น กทม.มีนโยบายกรุงเทพสีเขียวปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น และนโยบายสวน […]
เชื่อว่าหลายคนใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำนานเกินหนึ่งชั่วโมงแน่ๆ...
บ้านคอนกรีต ดีไซน์โมเดิร์นในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบบ้านเพื่อเอาชนะความลาดชันของที่ดิน พร้อมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการอยู่อาศัย ด้วยแทรกพื้นที่สวนสำหรับพักผ่อนและนำพาแสง-ลมเข้าสู่บ้าน บ้านคอนกรีต กับการออกแบบบ้านตามระดับความลาดชันของที่ดิน ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับถนนหน้าบ้านลงไปถึง 5 เมตร ขณะที่ที่ดินของบ้านก็มีความแตกต่างกันถึง 3 เมตร แทนที่จะทำให้ตัวเองโดดเด่นจากไซต์ บ้านหลังนี้กลับเน้นการออกแบบให้กลมกลืนไปกับภูมิประเทศของไซต์ ด้วยการจัดเรียงพื้นที่ใช้งานของบ้านให้มีลักษณะแบบลดหลั่นกัน ที่นี่ได้รับการออกแบบมาให้สำหรับคู่รักหนุ่มสาวที่มีลูกเล็ก ๆ 2 คน พร้อมโจทย์ที่อยากให้บ้านมีความเรียบง่าย มีพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะกับการใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย หลังจากศึกษาไซต์เรียบร้อยแล้ว สถาปนิกจาก Tamara Wibowo Architects ได้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วยพื้นที่ต้อนรับ และโรงรถซึ่งถูกวางไว้ที่ระดับสูงสุดของไซต์ แล้วจึงค่อยเป็นพื้นที่นั่งเล่น และรับประทานอาหารที่วางอยู่ตรงกลาง และระดับต่ำสุดคือ ตำแหน่งห้องนอน 4 ห้อง ที่จัดเป็น 2 ระดับ มวลอาคารทั้ง 3 ระดับจึงดูลดหลั่นกันลงมาตามไซต์ เรียกง่าย ๆ คือความสูงของมวลห้องนอนจึงเท่ากับมวลพื้นที่พักผ่อนของบ้านนั่นเอง แม้จะเป็นโครงสร้างคอนกรีตหนาหนัก แต่ก็ไม่ลืมออกแบบพื้นที่สีเขียวไว้ด้วย เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้หย่อนใจ และพักสายตาไปกับสวนที่แทรกอยู่ระหว่างมวลอาคารทั้ง 3 ระดับ เช่น […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]