SACICT Craft Experience Day พลิกมุมมองศิลปหัตถกรรมไปกับโครงการ SACICT CONCEPT 2020 - บ้านและสวน

SACICT Craft Experience Day พลิกมุมมองศิลปหัตถกรรมไปกับโครงการ SACICT CONCEPT 2020

เปิดมุมมองใหม่ของงานศิลปหัตถกรรมไทยเปิดตัว 40 คอลเล็กชั่นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมหลากหลายประเภท ที่ได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบันและเสริมศักยภาพในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ท่ามกลางบรรยากาศร่วมสมัยในงาน SACICT Craft Experience Day

คุณปรีชา ส่งวัฒนา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรรมการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์จักสานจากวัสดุใยตาล

SACICT Craft Experience Day ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ณ บ้านสุริยาศัย ถนนสุรวงศ์ จัดแสดงผลิตภัณฑ์จากโครงการ SACICT Concept ซึ่งมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน และตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภค

งานทั้งหมดนี้ริเริ่มโดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) แต่ละคอลเล็กชั่นเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตงานหัตถกรรมและนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงที่พยายามค้นหาศักยภาพใหม่ของหัตถกรรมท้องถิ่น

คุณปิโยรส บัวเหลือง จากบัวเหลืองปักไทย ซึ่งพัฒนางานปักชุดโขนและหุ่นกระบอกมาเป็นเครื่องประดับ มาร่วมนำเสนอแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ในงาน
บรรยากาศในช่วง คุณอดิศักดิ์ จันทร์วิทัน รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวต้อนรับในงาน

ผู้ผลิตงานหัตถกรรม 40 ราย จากหลากหลายสาขาความเชี่ยวชาญ อาทิ งานสิ่งทอ งานจักสาน งานไม้ งานเซรามิก งานโลหะ ฯลฯ ที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศ ได้ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีที่ปรึกษาด้านการออกแบบช่วยดูแลตลอดระยะเวลาในกระบวนการพัฒนาชิ้นงาน จึงเป็นการทำงานสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างช่างฝีมือกับที่ปรึกษาด้านการออกแบบ เพื่อค้นหาศักยภาพและคุณค่าจากวัตถุดิบในท้องถิ่น และภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย

คุณเชน สุวิกะปกรณ์กุล (ขวามือ) เจ้าของ Serindia Gallery และ ผู้บริหารพื้นที่ Open House ชั้น 6 Central Embassy

ในงานนี้ SACICT ได้ส่งเทียบเชิญถึงเครือข่ายพันธมิตรทางการค้า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ จากทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมชมคอลเล็กชั่นผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะความเป็นไปได้ใหม่ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม

คุณนิศาบุษป์ วีรบุตร (สะพายกระเป๋า) ผู้แทนจากอธิบดีส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคุณปารีสา จาตนิลพันธุ์ (ซ้ายมือ) ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กำลังสอบถามผู้ผลิตงาน Juthatip ผ้าทอจากจังหวัดขอนแก่น
คุณนรวีร์ เศรษฐิน (ขวามือ) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด บริษัท จระเข้คอร์ปอเรชั่น จำกัด และคุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ (กลาง) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
คุณอารยา เปล่งขำ ผู้อำนวยการ ส่วนงานจัดซื้อสินค้า กลุ่มบริษัท King Power International Co.,Ltd. ลองถือกระเป๋ากระจูด ผลิตภัณฑ์ในโครงการนี้
คุณศิริธร ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และวางแผนกลยุทธ์บริษัท สิงห์เอสเตท จำกัด (มหาชน)

SACICT Craft Experience Day ครั้งที่ 2 จัดขึ้น ณ เดอะ ระวีกัลยา ไดนิ่ง โดยในครั้งนี้เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์กับกลุ่มสถาปนิก นักออกแบบตกแต่งภายใน และนักออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างการรับรู้และเพิ่มทางเลือกทางการตลาด

บรรยากาศด้านหน้าแกลเลอรี่จัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรมในโครงการนี้
คุณเพ็ญศิริ ปันยารชุน ผู้จัดการสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวต้อนรับในงาน
กลุ่มนักออกแบบที่ปรึกษา คุณอนุพล อยู่ยืน จาก Mobella, คุณวนัส โชคทวีศักดิ์จาก ease Studio, คุณพิพิธ โค้วสุวรรณ จาก Salt and Pepper Design Studio และคุณวรพงศ์ มนูพิพัฒน์พงศ์จาก Atelier2+
คุณสุวรรณ คงขุนเทียน จากแบรนด์ Yothaka และคุณอมรเทพ คัชชานนท์ จากแบรนด์ Bambunique และนายกสมาคม Design & Objects กำลังเยี่ยมชมงาน
คุณวิบูลย์ เตชะกัลยาธรรม (ขวามือ) ผู้บริหารโรงแรม Putahracsa Hua Hin และบริษัทออกแบบ Design Scene
คุณวัฒนา โกวัฒนาภรณ์ อินทีเรียร์ดีไซเนอร์จาก aBalance Interior Design
หม่อมหลวงภาวิณี สันติสิริ จากแบรนด์ Ayodhya และคุณรชนาท พจนารท หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
คุณจูน เซคิโน จากบริษัทสถาปนิก Junsekino Architect and Design

ภูมิปัญญาแห่งศิลปหัตถกรรมไทยได้หยั่งรากลึกและเติบโตไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปรของกระแสโลก นอกเหนือไปจากการอนุรักษ์การสร้างสรรค์ต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมให้มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์และตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบัน ก็เป็นอีกแนวทางที่นำไปสู่การสืบสานภูมิปัญญาไทยอย่างยั่งยืน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sacict.or.th