PIA Interior
- ที่อยู่ : 193/120-123 Lake Rajada Office Complex ชั้น 28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
- เบอร์โทรศัพท์ : 0-2264 – 0690
- Facebook : PIA Interior Co., Ltd.
- Website : www.piainterior.com
จากปัญหาวิกฤตโควิด-19 และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ความสวยงามและการใช้งานอาจไม่เพียงพอเสียแล้วสําหรับการออกแบบสวนในปัจจุบัน สิ่งสําคัญคือสวนนั้นต้องช่วยให้เรามีชีวิตรอดในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง คําว่า“Permaculture”จึงเริ่มเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างทั่วทั้งโลก ใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือรู้จักเพียงผิวเผิน เรามาเริ่มทําความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย ที่มาที่ไป เพอร์มาคัลเจอร์เกิดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ.1978 โดยบิลมอลลิสันและ มาซาโนบุ ฟุกุโอกะ ซึ่งต้องการศึกษาหาแนวทางที่สมบูรณ์ที่สุดเพื่อทําการเกษตรแบบยั่งยืน(Permanent Agriculture) ต่อมาจึงได้เกิดความเข้าใจว่า การจะทําการเกษตรรูปแบบนี้จําเป็นต้องทําวิถีชีวิตในทุกด้านให้ยั่งยืนด้วย แนวคิดดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปจนเป็นที่ยอมรับและศึกษาต่อไปในชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันตก หากจะสรุปสั้นๆ เพอร์มาคัลเจอร์คือการทําเกษตรกรรมผสมผสานรูปแบบหนึ่งที่คนไทยก็คุ้นเคย ขนานไปกับวิถีชีวิตที่เป็นการรวมศาสตร์ในด้านต่างๆมาใช้ออกแบบวัฒนธรรมในทุกด้านของการดํารงชีวิตประจําวัน เพื่อผลิตอาหารและพลังงานให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล พร้อมรับมือสู่อนาคตที่อาจเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนและปัญหาพลังงานที่ลดลงไปในทุกวัน จะเห็นได้ว่าองค์ความรู้ของวิถีชีวิตแบบเพอร์มาคัลเจอร์ไม่มีหลักตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์หรือความเหมาะสม เราได้รวบรวมไอเดียที่น่าสนใจของวัฒนธรรมสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์ที่สามารถประยุกต์ใช้กับสวนที่บ้านคุณได้ไม่ยาก ดังนี้ ลําดับการวางผังสวน การวางผังหรือแบ่งสัดส่วนภายในสวนเป็นหัวใจสําคัญของการทําสวนแบบเพอร์มาคัลเจอร์รูปแบบที่นิยมทํากันจะเริ่มจากการเลือกบริเวณที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัยให้อยู่ตรงกลาง มีทางเข้า-ออกที่เชื่อมกับพื้นที่สาธารณะได้สะดวก ก่อนกําหนดโซนอื่นๆให้แผ่ออกเป็นรัศมีวงล้อมขยายซ้อนออกไปเรื่อยๆ โดยแต่ละลําดับของชั้นต่างๆ ด้านที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยคือการทําเกษตรที่ต้องการการดูแลหรือนํามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ขณะที่วงนอกสุดออกแบบให้มีลักษณะเป็นสวนป่าเพื่อรักษาและสร้างความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศเดิมหรือสวนป่าที่อยู่รอบๆ ทําให้สิ่งมีชีวิตสามารถใช้พื้นที่ในบริเวณนี้แบบเชื่อมถึงกันได้ การวางผังในลักษณะนี้นอกจากจะง่ายต่อการจัดการดูแลสวนที่ใช้พลังงานน้อยลงแล้ว ยังสอดคล้องกับการวางระบบอื่นๆ ทั้งการระบายน้ํา ให้แสงสว่าง และสาธารณูปโภค ซึ่งในโซนต่างๆที่มีกิจกรรมที่สามารถผลิตปัจจัย4ในการดํารงชีวิตได้ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อใช้ทําอาหาร ต้นไม้ที่มีใยหรือสีสําหรับทําเครื่องนุ่งห่ม ไม้หรือดินสําหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสมุนไพรสําหรับเป็นยารักษาโรค สร้างวงจรทรัพยากรที่เลียนแบบธรรมชาติ เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรกันในพื้นที่ ป่าอาหาร […]
เปิดบ้านไปแล้วอย่างสนุกกับกิจกรรม SCG Open House ที่โชว์นวัตกรรมต่างๆของบริษัทเอสซีจี จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายนที่สำนักงานใหญ่บางซื่อ
โภชนาการสำหรับสัตว์เลี้ยง คือกระบวนการคัดเลือกอาหารทั้งประเภทและปริมาณ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์เลี้ยงเพื่อดูแลรักษาสุขภาพที่ดีให้แก่พวกเขา โดยในอาหารแต่ละประเภทจะประกอบไปด้วย “สารอาหาร” ที่ร่างกายสัตว์เลี้ยงนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตหรือเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะภายใน การมีโภชนาการที่ดีสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ในทางกลับกัน หากสัตว์เลี้ยงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและครบถ้วน ก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องของสุขภาพร่างกายและเกิดโรคต่างๆตามมาได้ เช่น โรคอ้วน หัวใจ ไต ตับ และ นิ่ว เป็นต้น เจ้าของน้องหมาน้องแมวทั้งหลายจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาเลือกอาหารของสัตว์เลี้ยง เพื่อสุขภาพที่ดีให้แก่พวกเขาโดยปัจจัยหลักที่ใช้ประกอบการตัดสินใจก็คือ คุณภาพของอาหารสัตว์เลี้ยง และคุณค่าทางโภชนาการที่น้อง ๆ จะได้รับ โดยในปัจจุบันผู้เลี้ยงให้ความรักและความใส่ใจสัตว์เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว การเลือกโภชนาการต่าง ๆ สำหรับพวกเขาจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก คำแนะนำจากสัตวแพทย์ผู้ซึ่งมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดี จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเพื่อเลือกโภชนาการที่ถูกต้องให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน วิธีการเลือกอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับสัตว์เลี้ยง ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ น้องหมาและน้องแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกอาหารที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรเลือกอาหารที่ส่วนประกอบทางโภชนาการที่สมดุลและครบถ้วน เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ตามธรรมชาติ น้องหมาจัดเป็นสัตว์ที่สามารถกินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร (Omnivore) ในขณะที่น้องแมวเป็นสัตว์ที่กินเนื้อเพียงอย่างเดียว (Carnivore) ด้วยเหตุผลนี้ น้องหมาและน้องแมวจึงต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน น้องแมวจำเป็นต้องได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าน้องหมา หากน้องแมวได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของน้องแมวได้ ซึ่งโปรตีนหลักและสำคัญของร่างกายควรมีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์หรือโปรตีนคุณภาพดีอย่างน้อย 70% โดยในโปรตีนคุณภาพดีจะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]