สวนแนวตั้ง 4 แบบสวยๆ ไว้นำไปประยุต์ใช้ - บ้านและสวน

4 ไอเดียสำหรับจัด สวนแนวตั้ง

หากลองจับพรรณไม้ที่ปลูกบนระนาบพื้นมาไว้บนระนาบทางตั้งดูบ้าง เป็นต้น ในครั้งนี้เราจะหยิบประเภทของ สวนแนวตั้ง มาให้อ่านกัน จะมีกี่ประเภท แบบไหนเหมาะกับพรรณไม้ไหน ไว้ให้คุณนำไปประยุกต์ใช้กันได้เลย

สวนแนวตั้ง

1. ผนังผ้า (Felt System)

สวนแนวตั้ง

เป็นระบบที่คิดค้นขึ้นโดยแพทริก บลองซ์ สามารถบรรจุต้นไม้ขนาดเล็กถึงกลางลงในกระเป๋าผ้า แล้วใช้ลวดเย็บยึดติดกับผนังมีน้ำหนักเบา วัสดุผ้าที่ใช้เป็นใยสังเคราะห์ สามารถรักษาความชุ้มชื้นไว้ให้พืชพรรณได้ดี หากดูแลรักษาถูกวิธี อาจมีอายุการใช้งานถึง 25 ปี การให้น้ำและสารอาหาร ใช้หัวน้ำหยดเดินท่อสอดแทรกไปตามโซนต่าง ๆ ให้น้ำโดยการตั้งเวลาอัตโนมัติ

การปลูกบนผนังผ้าอาจมีวัสดุปลูกติดอยู่เล็กน้อย การให้สารอาหารสำหรับพืชในระบบนี้ใช้สารละลายแบบไฮโดรโปนิก เรื่องความชุ้นชื้นเป็นสิ่งสำคัญมากและต้องดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ

หากบริเวณที่ทำสวนแนวตั้งอยู่ในอาคาร ควรติดตั้งเครื่องตรวจวัดความชื้นเพื่อเตือนให้ทราบเมื่อหัวน้ำหยดอุดตัน หรือไม่ทำงานและเนื่องจากเป็นระบบที่ให้สารละลายททางน้ำ หากระบบไม่ทำงาน ไฟฟ้าดับ อาจทำให้พืชตายได้ จึงควรดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ในการติดตั้งพืชเข้ากับระบบผนัง ถึงแม้จะทำได้ง่าย แต่ควรทำที่หน้างาน พืชที่ปลูกในช่วงแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆเติบโตปกคลุมผนังในที่สุด

ผ้าที่ใช้ หากเป็นระบบไฮโดรโปนิก 100% จะใช้ผ้าลักษณะคล้ายผ้าห่มใยสังเคราะห์ ซึ่งดูดวับน้ำและสารละลายได้ดี รากของพืชจะยึดเกาะอยู่บนเนื้อผ้า และใช้สารละลายสูตรสำเร็จรูปแบบเดียวกับที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิก

วัสดุปลูก

ใยมะพร้าว, ใยปาล์ม, สแฟกนัมมอสส์, เวอร์มิคูไลท์

พรรณไม้ที่ใช้

พืชคลุมดิน, ไม้แขวนประดับ, ไม้พุ่มม, มอสส์, เฟิน

2. แผ่นผนังเขียว

สวนแนวตั้ง

ลักษณะเป็นแผ่นหรือถาดแบ่งเป็นช่องๆใช้บรรจุพืช หรือมีรูสำหรับบรรจุต้นไม้ วัสดุที่ใช้ทำถาดบรรจุอาจเป็นพลาสติกหรือโลหะที่มีน้ำหนักเบา ยึดเข้ากับโครงเหล็ก โดยใช้อุปกรณ์คล้ายระบบ Cladding หรือผนังแขวนเพื่อตกแต่งอาคาร

วัสดุปลูก

ใช้วัสดุทดแทนดินที่มีน้ำหนักเบาอาจเป็นอินทรีย์หรืออนินทรีย์สาร เช่น ใยมะพร้าว ใยปาล์ม พีทอสส์ ขุยมะพร้าว เวอร์มิคูไลท์ เพอร์ไลท์ มีการเดินท่อจ่ายน้ำเป็นชั้นแทรกอยู่ระหว่างแผ่นต้นไม้ แผ่นชนิดนี้สามารถปลูกพืชก่อนน้ำขึ้นไปติดตั้งได้ เป็นระบบที่รวดเร็วทันใจและต้นไม้ขึ้นเต็มทันทีที่ติดตั้งเสร็จ ระบบนี้มีพื้นที่สำหรับวัสดุปลูกน้อย จึงไม่เหมาะใช้ปลูกพืชขนาดกลางถึงใหญ่ เพราะไม่มีพื้นที่ให้รากเดินต่อเนื่องเพียงพอ

พรรณไม้ที่ใช้

มักเป็นพืชคลุมดินขนาดเล็ก ปลูกถี่ๆแน่นเป็นตารางสามารถจัดลวดลายแบบแปรอักษรได้ พืชที่ใช้ ได้แก่ ผักเป็ดเขียว-แดง ริบบิ้น เฟินชนิดต่าง ๆ พืชอวบน้ำและต้องการดินน้อย ได้แก่ ก้ามปูหลุด กาบหอยแครงแคระ กุหลาบหิน หัวใจสีม่วง ฯลฯ

3. กระถางแขวน (Hanging Planters)

สวนแนวตั้ง

pppppp

ppppp

วิธีการพื้นฐานอีกวิธีหนึ่งในการทำผนังเขียวที่ใช้งานได้ โดยการทำโครงใส่กระถางให้เอียงซ้อนกันในแนวตั้งโดยที่ดินไม่หกเลอะเทอะออกมา อาจใช้กระถางกลม เหลี่ยม หรือกระถางยาว ทั้งนี้ควรเป็นกระถางที่มีรูระบายน้ำได้ดี พืชที่ใช้มักเป็นชนิดห้อยลงมาปกคลุมไม่ให้เห็นกระถาง บางครั้งใช้ถุงโปร่งใส่ต้นไม้ยึดไว้กับโครงสร้างสามารถนำไปประดับให้เต็มผนังได้ทันที

4. บล็อกปลูกต้นไม้ (Planting Block wall)

pppppppp

ลักษณะเป็นบล็อกผนังที่มีช่องใส่ต้นไม้ อาจทำด้วยคอนกรีตหรือดินเผา มีรูระบายน้ำผ่านทะลุบล็อกแต่ละชั้นลงมา มีการเดินท่อและหัวน้ำหยดฝังในบล็อกตามระยะที่เหมาะสม เพื่อการให้น้ำและสารอาหารอย่างทั่วถึง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีโครงสร้างให้ยึดบล็อก สามารถทำเป็นผนังโดยก่อเรียงขึ้นมาแบบถาวร แล้วใช้ปูนก่อยึดระหว่างบล็อก หรือติดตั้งแบบชั่วคราวโดยใช้สลิงร้อยผ่านรูด้านข้าง แล้วยึดหัวท้ายกับโครงไม้หรือเหล็ก ระบบนี้ต้องการคานรับน้ำหนักและปรับระดับให้เป็นระนาบเดียวกัน

มีน้ำหนักเทียบเท่ากับผนังก่ออิฐ จึงเหมาะกับสถานที่ที่มีโครงสร้างแข็งแรงหรือเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับงานนี้ ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถรื้อถอนได้ง่าย บล็อกแถวล่างสุดของระบบควรเว้นว่างไว้และมีรางรองรับน้ำเพื่อไม่ให้น้ำขังที่ผนังด้านล่าง

พรรณไม้ที่ใช้

สามารถใช้พืชที่ปลูกในกระถางได้ทุกชนิดทั้งชนิดในร่มและกลางแจ้ง

หนังสือ : Vertical & Roof garden จัดสวนสวยบนผนังและหลังคา

เขียน : รศ.พาสินี สุนากร & ทิพาพรรณ ศิริเวชฎารักษ์


เรื่องที่น่าสนใจ