มาลัยวิทยสถาน ขอเชิญชมงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำเสนอนวัตกรรมเกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับที่ จังหวัดลำปางและจังหวัดเลย
มาลัยวิทยสถาน อว. เป็นแนวคิดของ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
โดยประสงค์ให้มีการนำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (วทน.) พัฒนาองค์ความรู้ที่ยั่งยืน รวมทั้งกระบวนการผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่หลากหลาย สู่การพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ การคัดเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค การส่งเสริมการใช้วัสดุปลูกที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่เหมาะสมต่อพืช ระบบการปลูกเลี้ยงสมัยใหม่ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ระบบการปลูกเลี้ยงตามหลักความพอดีไม่เหลือทิ้ง กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และสายพันธุ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการสร้างกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกเลี้ยงให้เข้มแข็ง รวมถึงการเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในจังหวัด โดยมีพื้นที่นำร่องในจังหวัดเลยและจังหวัดลำปาง ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาการปลูกเลี้ยงและการผลิตไม้ดอกไม้ประดับสู่การเรียนรู้เชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมจากงานวิจัยสู่ผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่จังหวัดเลยมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 เพื่อพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิต การแปรรูป และระบบการบริหารจัดการไม้ดอกไม้ประดับให้เป็นแหล่งเรียนรู้
วว. จึงได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนา “ไม้ดอกไม้ประดับ” โดยนำแนวคิดมาลัยวิทยสถานมาต่อยอด โดยใช้ วทน. พัฒนาไม้ดอกไม้ประดับตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าการผลิต (Value Chain) ตั้งแต่การวิจัยวัสดุปลูกที่มีคุณภาพ ระบบการปลูกเลี้ยงสมัยใหม่ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน การพัฒนาสายพันธุ์ คัดเลือกให้ได้พันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค นับแต่เริ่มกระบวนการปลูกเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์และสามารถจัดจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเชื่อมโยงกับการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ผู้ประกอบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ
พื้นที่เป้าหมายจังหวัดลำปาง
จังหวัดลำปาง เมืองท่องเที่ยวที่มีแหล่งอารยธรรมล้านนาไทย โดดเด่นทั้งด้านวิถีวัฒนธรรม ความเรียบง่ายของชุมชนที่คงไว้ถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และธรรมชาติกลางหุบเขา ภูมิประเทศของจังหวัดลำปางตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มรอบล้อมด้วยหุบเขาจากทุกด้าน มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ และมีแม่น้ำที่ไหลลงจากเหนือสู่ใต้ เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ
พื้นที่เป้าหมายจังหวัดเลย
จังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง มีวัฒนธรรมที่โดดเด่น ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ภูมิอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเพาะปลูกพรรณไม้เมืองหนาวหลากหลายสายพันธุ์ มีกลุ่มเกษตรกรประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอำเภอภูเรือและอำเภอด่านซ้าย นับเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญ และขนาดใหญ่สุดของประเทศ มีไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดและสายพันธุ์
เพื่อเป็นการแผยแพร่และประชาสัมพันธ์ต้นแบบความสำเร็จของการนำนวัตกรรมสู่ชุมชนฐานรากและเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน เห็นผลสำเร็จจาการนำความหลากหลายทางชีวภาพผนวกกับสหวิทยาการทั้งด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และแนวการนำเครือข่ายนานาชาติและนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ไปร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและมูลค่าการส่งออกไม้ดอกไม้ประดับของประเทศไทยในอนาคตอย่างยั่งยืน จึงได้มีการดำเนินการจัดงานนิทรรศการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำเสนอนวัตกรรมด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. ใน 2 พื้นที่ ได้แก่
จังหวัดลำปาง
“งานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง ประจำปี 2566” โดยกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16 – 25 ธันวาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง (สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง)
จังหวัดเลย
“เทศกาลศิลปะ สายหมอกและดอกไม้ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑ และเทศกาลไม้ดอกเมืองหนาว ครั้งที่ 30 อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประจำปี 2565” วันที่ 29 ธันวาคม 2565 – 3 มกราคม 2566
พิธีเปิด วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 – 21.00 น. ณ ที่ว่าการอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
14 สินค้าสำหรับจัดนิทรรศการที่จังหวัดลำปางและจังหวัดเลย
1.ดินปลูกปลอดโรค
2. กระถางเพ้นต์
3. กระถางผีตาโขน
4. วัสดุปลูกจากวัสดุเหลือใช้
5. เม็ดป็อปเปอร์
6. ต้นกล้าปลอดโรค
7. ขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
8. กล่องไม้ตัดดอก (กุหลาบ)
9. คู่มือมาตรฐาน GAP
10. หนังสือมาลัยวิทยสถาน
11. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากดอกไม้ – ชาดาวเรือง
12.ผลิตภัณฑ์ไอศรีมจากดอกไม้
13. ปุ๋ย
14. ไทรทิส