องค์ประกอบอยางลงตัวในแบบ บ้านสไตล์ดิบเท่

องค์ประกอบอย่างลงตัวในแบบ บ้านสไตล์ดิบเท่

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะ ขนาด และผู้อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันโดยตรง พื้นที่และรูปแบบบ้านที่มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิต ก็ถือเป็นการเพิ่มพลังให้แก่เจ้าของบ้านได้อย่างไม่น่าเชื่อ ครั้งนี้เราจะพามาชมบ้านหลังหนึ่งในย่านวิภาวดีรังสิต ซึ่งสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้านที่เป็นเจ้าของแบรนด์ Tin Home Toy สินค้าตกแต่ง บ้านสไตล์ดิบเท่ ได้อย่างชัดเจน

บ้านสไตล์ดิบเท่

 

 

จากของแต่งบ้านที่ผลิตจากสังกะสี ทั้งกระถางต้นไม้ ที่รดน้ำต้นไม้ กล่องเก็บของ ฯลฯ ซึ่งมีรูปแบบดิบเท่ ถ่ายทอดมาสู่รูปแบบของตัวบ้านที่ดูสอดคล้องกัน เป็นบ้านสไตล์โมเดิร์นที่มีกลิ่นอายของงานสถาปัตยกรรมเมืองร้อนอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นหลังคาทรงจั่วสูง ชายคาและกันสาดที่ยื่นยาวบังแดดฝน และความโปร่งสบายแบบไทยๆ ทั้งหมดได้รับการลดทอนให้เหลือเพียงรายละเอียดที่จำเป็น จึงทำให้บ้านหลังนี้ดูทันสมัยและผ่านกาลเวลาได้โดยไม่รู้สึกน่าเบื่อ คุณนุตร์ เชนยะวณิช เจ้าของบ้านและผู้ออกแบบ เล่าว่า

“เราชอบบ้านที่มีฝ้าสูงๆ ฝ้าเตี้ยๆทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว บ้านหลังนี้มีฝ้าสูงมาก อย่างในห้องนั่งเล่น เราได้รวมพื้นที่โถงบันไดเอาไว้ด้วย บริเวณนี้จึงสูงเท่าบ้านสองชั้น ส่วนภายในห้องต่างๆที่ชั้นล่างก็มีฝ้าสูงมากกว่าปกติคือ 3 เมตรขึ้นไป ส่วนชั้นสองให้ความสูงของฝ้าสูงเท่าความเอียงของหลังคาเลย เฉพาะในบางห้องเท่านั้นที่ไม่ต้องการฝ้าสูงมาก เช่น ห้องนอน เพราะจะรู้สึกโหวงเหวงเกินไป”

happiness-space-house-02-783x1024

happiness-space-house-04-771x1024

happiness-space-house-05

ก่อนจะสร้างบ้านหลังนี้ มีอาคารสำนักงานของ Tin Home Toy ตั้งอยู่ด้านข้างมาก่อน รูปแบบของตัวบ้านถือได้ว่าสอดคล้องกับตัวสำนักงาน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกัน ทั้งสองส่วนคั่นด้วยสระว่ายน้ำที่วางตัวยาวกั้นกลางอยู่ วัสดุหลักที่ใช้คือโครงสร้างเหล็ก เพราะเจ้าของบ้านชื่นชอบในความดิบเท่ และยังให้ภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัย อีกทั้งโครงสร้างเหล็กรูปพรรณที่นำมาใช้เป็นเสา คาน โครงสร้างพื้น และโครงหลังคา ก็ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็วและหน้างานก็สะอาด เมื่อประกอบกับบานกระจกสูงใหญ่สลับกับผนังก่ออิฐโชว์แนว ก็ทำให้บ้านนี้ครบสูตรบ้านเท่แบบดิบๆ

อย่างไรก็ตามเจ้าของบ้านยังไม่ลืมองค์ประกอบ ที่จะทำให้บ้านน่าอยู่ เช่น การมีชายคายื่นยาวเพื่อบังแดดและฝน การเลือกใช้โครงสร้างเหล็กก็ถือว่าเหมาะสม เพราะสามารถยื่นได้ยาวโดยไม่ต้องมีเสามารับ เช่น ที่จอดรถ มีชายคาเหล็กยื่นยาวไร้เสารับ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจอดรถ อีกทั้งยังมีการออกแบบประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ เพื่อเปิดรับลมเข้าบ้าน การมีฝ้าสูงก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้มวลอากาศร้อนลอยตัวสูง และระบายออกที่ช่องหน้าต่างด้านบน

happiness-space-house-06

พื้นที่ใช้งานของบ้านหลังนี้ประกอบด้วย ชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่น โถงบันได ห้องรับประทานอาหาร ครัว และส่วนบริการอย่างห้องเก็บของและห้องซักล้าง ส่วนชั้นบนเป็นห้องนอนและห้องทำงาน ทางเดินภายในบ้านกว้างไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร จึงรู้สึกได้ถึงความโปร่งสบายไม่อึดอัด

เมื่อเดินดูรอบๆบ้าน เราพบว่าบ้านหลังนี้มีการออกแบบที่ “เผื่อ” ไว้ค่อนข้างมาก บางห้องเผื่อไว้สำหรับลูกน้อย บางพื้นที่เผื่อไว้สำหรับการเดินแบบสบายๆ บางส่วนเผื่อไว้จัดกิจกรรมในบ้าน บางรายละเอียดก็เผื่อไว้สำหรับความสะดวกสบาย ในแวบแรกเราอาจรู้สึกว่าไม่คุ้มค่า และดูเหมือนว่าการออกแบบจะไม่ลงตัว แต่เมื่อพิจารณาดูดีๆ ในชีวิตเรายังมีการ “เผื่อ” อยู่เสมอๆ แล้วกับบ้านทำไมจะเราจะไม่เผื่อบ้างล่ะ

happiness-space-house-09

happiness-space-house-10-869x1024

happiness-space-house-12

happiness-space-house-08-792x1024

happiness-space-house-15-855x1024

หลายครั้งที่เรายึดติดกับค่ามาตรฐานมากเกิน ไปว่าควรจะเป็นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ใครกำหนด แต่กับบางเรื่อง ค่ามาตรฐานเหล่านั้นเป็นเพียงค่ากลางๆ นั่นแสดงว่ายิ่งมากก็ยิ่งดี เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ ทำฝ้าสูงเข้าไว้ แล้วค่าความสุขก็จะสูงตาม ผมเชื่ออย่างนั้นนะ


เรื่องโดย : เอกราช ลักษณสัมฤทธิ์
ภาพโดย : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

บ้านไม้…ลมหายใจ

MODERN TROPICAL HOUSE – บ้านภูภัทรา