เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำในงาน Bangkok Art Biennale 2022 - BAB 2022

เปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลก ที่ร่วมแสดงผลงานในงาน BAB 2022 CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข

เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา บ้านและสวนมีโอกาสได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวการเปิดตัว 73 ศิลปินชั้นนำระดับโลกที่ร่วมแสดงผลงานในงาน Bangkok Art Biennale 2022 หรือที่เรียกกันติดปากว่า BAB 2022  ซึ่งจัดภายใต้แนวคิด CHAOS : CALM  โกลาหล : สงบสุข ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

งานจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2565 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566 โดยจะจัดแสดงตามสถานที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สามย่านมิตรทาวน์   เดอะ ปาร์ค   เดอะพรีลูด วันแบงค็อก  JWD Art Space และในพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Venue

สำหรับรายชื่อศิลปินที่เข้าร่วม มีดังนี้

1. มารีน่า อบราโมวิช (Marina Abramović)

Marina Abramović ©FilipVanRoe, 2018

เกิด พ.ศ. 2489 บัลเกรด เซอร์เบีย

ตั้งแต่ในช่วงยุค 1970s มารีน่า อบราโมวิช ได้เริ่มอาชีพของเธอในเมืองบัลเกรด เธอริเริ่มการแสดงสด และได้สร้างผลงานที่นับว่าสำคัญที่สุดตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นของเธอ เธอสำรวจขีดความสามารถของเธอทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ต่อสู้กับความเจ็บปวด ความเหนื่อยล้า และความอันตราย เพื่อตามหาการแปรเปลี่ยนทางอารมณ์และจิตใจ

อบราโมวิชได้รับรางวัลสิงโตทองคำ สาขาศิลปินยอดเยี่ยมที่งานเวนิส เบียนนาเล่ในปี พ.ศ. 2540 และในปี พ.ศ. 2553 เธอได้มีงานแสดงรวบรวมผลงานของเธอครั้งใหญ่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ในเวลาเดียวกันนั้น เธอก็ได้ใช้เวลากว่า 700 ชั่วโมงในการทำการแสดงสด ในผลงาน The Artist is Present ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (MoMA) นิวยอร์ก อบราโมวิชได้ก่อตั้งสถาบัน มารีน่า อบราโมวิช (Marina Abramovic Institute หรือ MAI) ขึ้น ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันระหว่างนักคิดจากทุกศาสตร์ ผ่านผลงานที่ปราศจากตัวตนและผลงานที่แสดงแบบต่อเนื่องยาวนาน

Marina Abramović Artist Portrait with a Candle (C)  from the series Places of Power Fine art pigment print Brazil, 2013
© Marina Abramović Courtesy of the Marina Abramović Archives

ผลงานด้านสิ่งพิมพ์ล่าสุดของเธอคือหนังสือ Walk Through Walls: A Memoir จัดพิมพ์โดย คราวน์ อาร์คีไทป์ ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นิทรรศการรวบรวมผลงาน The Cleaner ได้เปิดแสดงที่โมเดอร์นามูเซทเมืองสต็อกโฮล์ม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และได้หมุนเวียนไปจัดแสดงต่ออีกเจ็ดสถานที่ในยุโรป นิทรรศการนี้ได้แสดงครั้งสุดท้ายที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย เมืองบัลเกรด ประเทศเซอร์เบียในปี พ.ศ. 2562  ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2563 7 Deaths of Maria Callas ได้จัดแสดงที่ โรงอุปรากรแห่งชาติ Bayerische Staatsoper มิวนิค เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะหมุนเวียนไปแสดงที่อื่นต่อไป ในปี พ.ศ. 2566 เธอจะแสดงนิทรรศการเดี่ยวชื่อ After Life ที่รอยัลอะคาเดมี เธอจะกลายเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ใช้พื้นที่จัดแสดงงานทั้งหมดของอาคารในตลอด 250 ปีของสถาบันแห่งนี้

2. AES+F

AES+F Photo by Egor Zaika for Wallpaper Magazine, 2012

ก่อตั้งปี พ.ศ. 2530, มอสโก

ในปี พ.ศ. 2530 กลุ่ม AES+F ได้มีการก่อตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ เออีเอส กรุ๊ป โดยมีผู้ก่อตั้งคือ Arzamasova, Evzovich และ Svyatsky กลุ่มนี้กลายเป็น เออีเอส+เอฟ เมื่อ Fridkes เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538

ผลงานที่เกิดขึ้นจากการการผสมผสานของงสื่อแบบดั้งเดิมเช่น การถ่ายภาพ วิดีโอ และเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างผลงงานภายใต้แนวปฏิบัติที่พวกเขาเรียกว่าว่าจิตวิเคราะห์ทางสังคม ซึ่งสะท้อนถึงค่านิยม ความชั่วร้าย และความขัดแย้งของวัฒนธรรมโลกร่วมสมัย

AES+F ได้รับคำวิจารณ์จากทั่วโลกในปี 2542 จาก Islamic Project ของพวกเขา ซึ่งแสดงภาพภูมิทัศน์จำลองของเมืองท่องเที่ยวโด่งดังต่างๆในตะวันตก ในฐานะอาณานิคมของวัฒนธรรมอิสลาม

AES+F ได้สร้างชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยเมื่อพวกดขาได้แสดงที่ Russian Pavilion ที่งาน Biennale di Venezia ครั้งที่ 52 ในปี 2550 ด้วยงาน Last Riot ที่เร้าใจ ซึ่งถือเป็นการติดตั้งวิดีโอขนาดใหญ่ที่เป็นแนวงานที่ขึ้นชื่อของพวกเขาในปัจจุบันนี้การติดตั้งวิดีโอขนาดใหญ่ในชื่อ The Feast of Trimalchio และ Allegoria Sacra เปิดตัวที่งาน Venice Biennale ครั้งที่ 53 และ Moscow Biennale ครั้งที่ 4 ทั้งสามโปรเจ็กต์นี้เป็นที่รู้จักในชื่อ The Liminal Space Trilogy และได้แสดงร่วมกันเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2555 ที่ Gropius Bau กรุงเบอร์ลิน ในปี 2558 AES+F ได้เปิดตัว Inverso Mundus ที่งาน Biennale di Venezia ครั้งที่ 56 ต่อมาได้จัดแสดง Inverso Mundus ที่งาน Kochi-Muziris Biennial, Bangkok Biennial และพิพิธภัณฑ์และเทศกาลอื่นๆ อีกหลายแห่งทั่วโลก

ในปี 2562 AES+F ร่วมกับคณะละครโอเปร่าชาวอิตาเลี่ยน Fabio Cherstich ได้แสดงละคร Turandot ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ณ Teatro Massimo ในปาแลร์โม ซึ่งได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ว่าในความกล้าหาญและวิสัยทัศน์กว้างไกลนอกจากงานวิดีโอแล้ว AES+F ยังได้ผลิตงานประติมากรรมหลายชิ้นในระดับต่างๆ ตั้งแต่เทวรูปไฟเบอร์กลาส Angels-Demons 2552 ที่แสดงครั้งแรกในฝรั่งเศสที่งานเทศกาล Lille3000 ไปจนถึงเซรามิคเคลือบขนาดเล็ก Mare Mediterraneum 2561 ซึ่งจัดแสดงครั้งแรกที่ Manifesta Biennaleในปาแลร์โม

AES+F Inverso Mundus, Inquisition, 2015 Courtesy of the artists

กว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา ผลงานของ AES+F ได้รับการจัดแสดงในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยอันเป็นเอกลักษณ์ทั่วโลก เช่น งาน Biennials ที่ เวนิส, ซิดนีย์, มอสโก, กวางจู, ฮาวานา, อิสตันบูล, โคจิ-มูซิริส, ลีอง, แวนคูเวอร์ และ อื่น ๆ อีกมากมาย ผลงาน AES+F ยังได้จัดแสดงในสถาบันและหอศิลป์ เช่น Garage Museum of Contemporary Art มอสโก ​​ZKM, คาร์ลสรูเฮอ HAM เฮลซิงกิ Moderna Museet สตอกโฮล์ม Tate Britain ลอนดอน MAXXI และ MACRO Futre โรม ศูนย์ปอมปิดู ปารีส Thyssen-Bornemisza มาดริด Tang Contemporary Art ปักกิ่ง Mori Art Museum โตเกียว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Leeum Samsung โซล หอศิลป์แห่งชาติออสเตรเลีย แคนเบอร์รา ศูนย์ศิลปะ Faena บัวโนสไอเรส และอื่นๆ อีกมากมาย

3. โซเฟีย อัล-มาเรีย (Sophia Al-Maria)

Sophia Al-Maria Image courtesy of Bernice Mulenga

เกิด พ.ศ. 2526 ประเทศกาตาร์

โซเฟีย อัล-มาเรีย เป็นนักเขียน ผู้สร้างภาพยนตร์ และศิลปิน ผู้สร้างงานศิลปะซึ่งมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างผู้สร้างและผู้เสพ  โดยเฉพาะในแง่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่กำหนดความสัมพันธ์นั้น งานศิลปะของเธอส่วนใหญ่มีจุดเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัว โดยใช้ประเด็นเรื่องเพศและสถานที่เป็นตัวสื่อในการเข้าใจการสร้างภาพยนตร์อิสระ ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่สาธารณะกับระบอบต่างๆในสังคม เช่น การโฆษณา รวมถึงผลทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่หล่อหลอมวัฒนธรรมในที่ต่างๆ เช่น ไคโรและดูไบ 

ขณะนี้ อัล-มาเรียอาศัยอยู่ที่ลอนดอนและเป็นผู้แทนของกลุ่มศิลปิน GCC (Gulf Cooperation Council) ซึ่งเธอก็ได้รับความสนใจจากผลงานของเธอเรื่อง “Gulf Futurism” โดยเป็นแนวคิดที่แสดงถึงสังคมและสไตล์ของดิสโทเปียที่เป็นลักษณะของภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

Sophia Al-Maria Beast Type Song, 2019
Installation view at Tate Britain, London Courtesy of the artist

4. APY Art Centre Collective

APY Art Centre Collective
Photo courtesy of APY Art Centre Collective

ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2560 

APY Art Centre Collective คือ อนากู ซึ่งเป็น ‘ผู้คน’ ของ อนันกู ปิจจานจจรา ยันกุนิจจจราแลนด์ (เอพีวาย แลนด์) ซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐในภาคใต้ของออสเตรเลีย โดยมีจุดประสงค์ที่จะร่วมกันแบ่งปันวัฒนธรรมของพื้นเมืองผ่านงานศิลปะของเรา โดยกลุ่มเอพีวายมีการก่อตั้งขึ้นในปี 2559 ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจและศูนย์ศิลปะของชนพื้นเมืองที่แข็งแกร่ง โดยมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกันโดยมีวิสัยทัศน์และความคิดเห็นที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อสร้างโครงการศิลปะอำนวยในการร่วมมือกันและการริเริ่มพัฒนาธุรกิจเพื่อประโยชน์ของทุกคน

APY Art centre Collective (Iwantja Men’s Collaborative) Nganampa Ngura, 2021
acrylic on linen, 300x300cm
Iwantja Arts and APY Art centre Collective

วิสัยทัศน์ของเอพีวายคือการสนับสนุนให้สมาชิกทุกคนในชุมชนเข้มแข็งในวัฒนธรรมของพวกเขาและประสบความสำเร็จในโลกของเขาและสาธารณะ กลุ่มเอพีวายภูมิใจในงานศิลปะของเขาและความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่เป็นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความสำคัญต่อภูมิภาคของเขา ศูนย์ศิลปะเป็นแหล่งรายได้แหล่งเดียวซึ่งนอกเหนือจากภาครัฐสำหรับ อนากู จึงเป็นหนทางเดียวสู่ความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจและการเสริมอำนาจ ที่สำคัญพวกเขา โดยยังเป็นสถานที่ที่มีการเฉลิมฉลองและสั่งสอนวัฒนธรรมเป็นประจำทุกวันโดยวางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความเป็นเลิศทางศิลปะและความสมบูรณ์

APY Art centre Collective (Nynmiti Burton) Kungarangkalpa, 2021
acrylic on linen, 300x 300cm
Adelaide Studio and APY Art Centre Collective

มีศูนย์ศิลปะเก้าแห่งที่สร้าง The Collective Iwantja Arts, Mimili Maku Arts, Ernabella Arts, Kaltjiti Arts, Tjala Arts, Tjungu Palya, Ninuku Arts, Adelaide Studio และ Umoona Arts พวกเขาเป็นบ้านของศิลปิน Anangu มากกว่า 500 คน

ศูนย์ศิลปะ APY เป็นตัวแทนของศิลปินพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและสะสมมากที่สุดในออสเตรเลีย ความสำเร็จล่าสุด ได้แก่ Vincent Namatjira (Iwantja Arts) ชนะรางวัล Archibald Prize อันทรงเกียรติที่ The Art Gallery of New South Wales ในปี พ.ศ. 2563 Zaachariaha Fielding (Adelaide Studio) เข้ารอบสุดท้ายในรางวัล Ramsey Art Prize ที่ Art Gallery of South Australia ในปี พ.ศ. 2564 และ Betty Muffler and Maringka Burton (Iwantja Arts) และ Betty Pumani ( Mimili Maku Arts) รวมอยู่ใน The National 2564: New Australian Art ที่ Art Gallery of New South Wales The Ken Sisters Collaborative (Tjala Arts), Betty Pumani (Mimili Maku Arts) และ Sylvia Ken (Tjala Arts) ได้รับรางวัล Wynne Prize อันทรงเกียรติในปี พ.ศ. 2560,พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ตามลำดับ Kayleen Whisky (Iwantja Arts) ได้รับรางวัล Sulman Prize ในปี 2561 และศิลปิน Wawiriya Burton, Nyunmiti Burton และ Tjungkara Ken (Tjala Arts) ได้รับรางวัล Robert’s Family Prize ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรางวัล Wynne Prize ในปี พ.ศ. 2561, พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2564

5. ฟรานเชสโก อารีนา (Francesco Arena)

Francesco Arena Photo Roberto-Marossi

เกิด พ.ศ. 2510 ตอร์เร ซานตา ซูซานนา อิตาลี

ฟรานเชสโก อารีนา เป็นศิลปินอิสระ หากจะกลั่นกรองผลงานส่วนใหญ่ของฟรานเชสโก อารีนา ออกมาเป็นสูตรง่ายๆ ตรงไปตรงมา ก็อาจเรียกได้ว่ามันคือ ตัวเลขที่มีรูปทรง เพราะแม้ว่าในมุมมองทางภาษาศาสตร์งานของเขาสามารถเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการ และ “การสืบทอด” ส่วนบุคคล ต่อกระบวนการประติมากรรมที่เกิดขึ้นจากรูปทรงเรขาคณิตตามแบบฉบับของศิลปะแบบมินิมอล และจากงานศิลปะที่ที่เรียกได้ว่าเป็นแบบอย่างของ Arte Povera – เห็นได้จากประเด็นสำคัญของผลงานที่ทั้งเป็นนามธรรมและไม่มีความเป็นส่วนบุคคล ซึ่งผสมผสานกับประสบการณ์ คำบรรยายข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์หรือข้อมูลส่วนตัว – แต่หากดูจากเนื้อความแล้ว ผลงานของเขามักเป็นการแปลสูตรและตัวเลขที่เชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงหรือประวัติศาสตร์เหล่านั้น ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของตัวเลขเหล่านี้

กระบวนการค้นคว้าของของเขามักจะเคลื่อนไปในสองทิศทาง ได้แก่ ทางของประวัติศาสตร์ส่วนรวม และประวัติศาสตร์ส่วนตัว ก่อให้เกิดเส้นทางสองสายที่สัมผัส ทับซ้อน และตัดกัน โดยในผลงานการแสดง การจัดวาง และประติมากรรมของเขา การดำเนินเรื่องนั้นเป็นตัวบอกบทให้กับวัตถุในผลงาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของในชีวิตประจำวัน เช่น ไดอารี่ ซิการ์ เฟอร์นิเจอร์ห้องนั่งเล่น หรือวัตถุที่สร้างขึ้นจากวัสดุประติมากรรมแบบดั้งเดิม (หินอ่อน หินชนวน สัมฤทธิ์)

Francesco Arena Mare della tranquillità, 2013
Metal, wood, performer, shoes; 75 x 500 x 175 cm
Courtesy of the artist
Photo : Martin Argyroglo

เขาได้ร่วมแสดงในหลากหลายนิทรรศการที่จัดขึ้นในสถานที่ชั้นนำหลายแห่ง เช่น Museo Madre, Naples (พ.ศ. 2564); Walker Art Center, Minneapolis (พ.ศ. 2564); Metropolitan Museum of Manila, Manila (พ.ศ. 2564); CaixaForum, Barcelona (พ.ศ. 2561); Kunstmuseum St. Gallen, Switzerland (พ.ศ. 2561); PYFF, Ping Yao, Shanxi, China, (พ.ศ. 2561); Unlimited, Art Basel, (พ.ศ. 2560), MAXXI, Rome (พ.ศ. 2560); Fondazione Merz, Turin (พ.ศ. 2560); Triennale di Milano (พ.ศ. 2558), Palazzo Strozzi, Florence (พ.ศ. 2558); Castello di Rivoli, Turin (2558 – 2557 และ 2555); FRAC Champagne-Ardenne (พ.ศ. 2556); 55th Venice Biennial (พ.ศ. 2556); Fondazione Sandretto Re Rebaudengo, Turin (พ.ศ. 2554); Nomas Foundation, Rome (พ.ศ. 2551).

ปัจจุบัน ฟรานเชสโก อารีนา อาศัยและทำงานอยู่ในกัสซาโนเดลเลมูร์เก อิตาลี

6. ART for AIR

ART for AIR (representatives)

ก่อตั้ง พ.ศ. 2562 เชียงใหม่ ประเทศไทย

นิทรรศการ“Art For Air” เป็นความร่วมมือ ระหว่างสภาลมหายใจ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (สามกษัตริย์) และพื้นที่ทางศิลปะอิสระ รวบรวมความร่วมมือจากนักสร้างสรรค์และศิลปิน นำไปสู่โครงการศิลปะในพื้น ที่สาธารณะรอบเมืองเชียงใหม่ จุดมุ่งหมายหลักคือ การมี ส่วนร่วม สร้างบรรยากาศการวิพากษ์และสร้างความตระหนักบนความเข้าใจ ทำให้เกิดความร่วมมือที่เป็นองค์ ความรู้และข้อเสนอที่น่าสนใจด้วยงานศิลปะร่วมสมัยในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ Art For Air จึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือ ระหว่าง ศิลปิน นักสร้างสรรค์รวมถึงนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ต่าง ๆ จากหลายพื้นที่เพื่อสร้างปรากฏการณ์นิทรรศการศิลปะว่าด้วยฝุ่นควัน และสภาวะโลกร้อนเพื่อนำ เสนอมุมมองต่อปัญหาอย่างหลากหลาย 


Art for Air (Rirkrit Tiravanija) Untitled (Solar Cooking), 2022
Solar Cookers 5 sets, Green Curry
Courtesy of the Nature Lab
Photo : Jirawat Tunprasert

Art for Air (Rirkrit Tiravanija)
Untitled (Solar Cooking), 2022 (detail)
Solar Cookers 5 sets, Green Curry
Courtesy of the Nature Lab
Photo : Jirawat Tunprasert

ภาพรวมของนิทรรศการนี้เป็นการวิพากษ์จากมุม มองของเมืองในป่า การซ้อนทับด้วยความหมายของป่าจะทำให้เราได้เห็นภาพของปัญหาที่ ชัดเจน จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งทางด้านพลังงาน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ไปจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ล้วนเป็นการล่วงเข้า ไปในนิยามของป่า ทั้งสิ้น ในกระแสธารของศิลปะร่วมสมัยปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าเชื่อว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผูกโยงกับสังคม การเมืองวัฒนธรรม จะยิ่ง ทวีความเข้มข้น และเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ ของอารยธรรม ศิลปะไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารทางด้านความงามที่ตาเห็น แต่ความ งามทางทัศนคติของการตระหนักรู้การลงมือ ในภาคปฏิบัติและการค้นคว้า อาจจะเข้ามาแทนที่สุนทรยีภาพแบบเดิมArt For Air เป็นทั้งการมองไปในอนาคตของศิลปะร่วมสมัย และอนาคตของสภาพอากาศ ด้วยกระบวนความคิดของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นการ นำเสนอแนวคิดของพลังงานทดแทน การวิพากษ์โครงสร้างของการเมืองที่เป็นผลต่อการเกิดขึ้น ของฝุ่นขนาดเล็ก การจัดการไฟเชิงวัฒนธรรม และอีกหลายๆ วิธีคิดที่จะนำไปสู่ทางออก ความเห็นและสมมติฐานมากมายจะได้รับการแสดงออกผ่านภาษาของศิลปะร่วมสมัยที่ทุกๆ คนจะ เห็นพ้องต้องกันว่าพลังทางศิลปะจะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งเสริมการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพ สังคม ด้วยการมองเห็น ตระหนัก และช่วยกันส่งต่อความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับชุมชมที่เราอยู่อาศัยต่อไป

7. นาเดีย บามาดัจ (Nadiah Bamadhaj)

Nadiah Bamadhaj Photo by Vivien Poly

เกิด พ.ศ. 2511 เปตาลิง จายา มาเลเซีย

นาเดีย บามาดัจ อาศัยอยู่ในยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เธอผ่านการฝึกฝนเป็นประติมากรในนิวซีแลนด์ จาก Canterbury School of Fine Arts เธอสร้างภาพวาดคอลลาจโดยใช้เทคนิคเฉพาะที่พัฒนาขึ้นในช่วงเวลาหลายปี ผลงานของเธอยังรวมถึงประติมากรรม ผลงานจัดวางเฉพาะพื้นที่ วิดีโอดิจิทัล และภาพพิมพ์ เธอได้บรรยายเกี่ยวกับวิจิตรศิลป์ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เขียนบทความและสิ่งพิมพ์หลายฉบับเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ได้รับทุนสนับสนุน Asian Public Intellectual Fellowship โดยมูลนิธิ Nippon Foundation สองครั้งในปี พ.ศ. 2545 และ 2547 และปัจจุบันเป็นคณะกรรมการของ Yayasan Kebaya ซึ่งเป็นที่พักพิงคนไร้บ้านที่ติดเชื้อเอชไอวีในยอกยาการ์ตา ในปี พ.ศ. 2562 หนังสือรวบรวมผลงานศิลปะกว่า 18 ปี ของเธอ ‘Nadiah Bamadhaj’ ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ SKIRA ในอิตาลี และเธอเพิ่งได้รับการแนะนำในหนังสือ ‘Vitamin D3: Today’s Best in Contemporary Drawing’ ของสำนักพิมพ์ PHAIDON ในลอนดอน ปัจจุบัน งานศิลปะของเธอมุ่งเน้นไปที่ความสลับซับซ้อนทางสังคมของชีวิตในสังคมชาวอินโดนีเซีย โดยใช้รูป พืชและสัตว์เฉพาะถิ่น ลวดลายผ้าบาติก เรื่องเล่าในตำนาน และสถาปัตยกรรม เพื่อถ่ายทอดข้อสังเกตของเธอ

Nadiah Bamadhaj The Reckoning, 2021 (detail)
Charcoal on paper collage, 292.0 x 225.0 x 20.0 cm
Courtesy of the artist

8. วอนดิมอะเกน เบอเลทฮ์ (Wendimagegn Belete)

Wendimagegn Belete Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2529 ประเทศเอธิโอเปีย

วอนดิมอะเกน เบอเลทฮ์ ปัจจุบันอาศัยและทำงานอยู่ที่เอธิโอเปียและนอร์เวย์ ในปี พ.ศ. 2555 เขาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิจิตรศิลป์ที่ AAU Alle School of Fine Arts and Design, ET จากนั้นเขาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านศิลปะร่วมสมัยที่ Tromsø Academy of Contemporary Art and Creative Writing ณ ประเทศนอร์เวย์ โดยสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2560

Wendimagegn Belete Your Gaze Makes Me 6, 2021
Print on matt photo paper, and artist-manipulated photograph, 180 x 130 cm / 70 7/8 x 51 1/8 in
Courtesy The Artist / Kristin Hjellegjerde Gallery

งานของเบอเลทฮ์ได้รับภูมิหลังอย่างมากจากเรื่องเล่า อัตลักษณ์ และประวัติศาสตร์ของชาวเอธิโอเปีย และยังมีข้อมูลสารานุกรมที่นำมาจากภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ข้อความ เรื่องราว เฟรมวิดีโอ รวมทั้งประสบการณ์และภาพถ่ายของเขาเอง ด้วยความสนใจในอีพีเจเนติกส์ และแนวคิดเรื่องความทรงจำที่ถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น เขาเชิญชวนให้ผู้ชมพิจารณาทั้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของเรา ซึ่งสะท้อนถึงการสะสมของประสบการณ์ เหตุการณ์ และการตัดสินใจในอดีตที่ยังคงมีผลในการกำหนดสถานการณ์ปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงทั่วโลกเช่น Your Gaze Makes Me (Kristin Hjellegjerde Gallery, เยอรมันนี พ.ศ. 2564)  Iodeposito (อิตาลี พ.ศ. 2564)  I Call it Art (พิพิธภัณฑ์แห่งชาตินอร์เวย์ในออสโล พ.ศ. 2565)  Artsy Vanguard (ไมอามี สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2564) และได้รับรางวัล Future Generation Art Prize ครั้งที่ 6 (PinkchukArtCentre, เคียฟ, ยูเครน พ.ศ. 2564)

9. มณเฑียร บุญมา

มณเฑียร บุญมา

พ.ศ. 2496-2543

มณเฑียร บุญมา เป็นหนึ่งในศิลปินคนสำคัญของวงการศิลปะร่วมสมัยไทยและนานาชาติ ผลงานของมณเฑียร ได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะที่ โดดเด่นในระดับนานาชาติมากมาย ทั้งเบียนนาเล่ เทรียนนาเล่ เทศกาลศิลปะ และในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ ผลงานของมณเฑียรมีความโดดเด่นใน การผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน เป็นศิลปินที่บุกเบิกอัตลักษณ์ไทยท้องถิ่นที่ไม่เคยได้รับการนำเสนอมาก่อนในศิลปะแบบ ทางการ เขาใช้วัสดุท้องถิ่นราคาถูกที่พบหาได้ทั่วไปในต่างจังหวัด เผยให้เห็นความเป็นไทยที่ไม่ได้รวมศูนย์ในที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งไม่ค่อยปรากฏมา ก่อนในแวดวงศิลปะร่วมสมัยของไทย

มณเฑียรเรียนจบปริญญาตรีสาขาจิตรกรรม จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศึกษาต่อในสาขา ประติมากรรม ที่ Ecole Nationale Superieure des Beaux Arts และมหาวิทยาลัย Université de Paris VIII ประเทศฝรั่งเศส

มณเฑียร บุญมา Zodiac Houses, 1998-1999.
Metal, herbal medicine, wood, cellophane, and transparency sheet. Size variable.
Installation view at the Bangkok Art Biennale 2018

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 90 มณเฑียรมุ่งมั่นสร้างผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานศิลปะจัดวาง สื่อผสม ประติมากรรม ที่สะท้อนแนวความคิดเกี่ยวกับ ธรรมชาติ สังคม และการรุกคืบของอุตสาหกรรม ภายใต้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นกระแสหลักในช่วงทศวรรษนั้น ภายหลังเมื่อ ทราบข่าวการป่วยของภรรยาด้วยโรคมะเร็งทรวงอก ผลงานของมณเฑียรเริ่มหันเข้าสู่กระบวนการคิด และการตั้งคำถามเชิงพุทธปรัชญาต่อ ความหมายของการเกิด มีชีวิตอยู่ และการตาย

หลังการจากไปของภรรยา มณเฑียรเริ่มตระเวนแสดงงานศิลปะในต่างประเทศมากขึ้น และอุทิศแรงกายอย่างหักโหมให้การทำงานศิลปะ แต่กลับส่งผลให้ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็ง ถึงกระนั้นมณเฑียรก็ไม่เคยหยุดสร้างงานศิลปะ แม้ว่าร่างกายของตนเองจะไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานแล้ว ก็ไม่อาจต้านทานความคิดและจิตใจของมณเฑียรที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์จวบจนวาระสุดท้ายในชีวิต เขาจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 48 ปี ในขณะที่ชีวิตการเป็นศิลปินกำลังรุ่งโรจน์ และเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ มณเฑียร ถือเป็นศิลปินสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปอยู่ในแผนที่ของการแสดงงานศิลปะในระดับนานาชาติ

10. สเตฟานี เจน เบิร์ท (Stephanie Jane Burt)

Stephanie Jane Burt Image courtesy of the artist

เกิด พ.ศ. 2531 สิงคโปร์

สเตฟานี เจน เบิร์ท เป็นศิลปินที่สร้างงานประติมากรรมไปจนถึงงานประพันธ์สมมุติ งานของเธอเชิญชวนให้ผู้ชมสำรวจบทสนทนาระหว่างงานของเธอและสถานที่ติดตั้ง ผ่านการเล่าเรื่องสมมติ โดยมีการอ้างอิงถึงภาพยนตร์และวรรณกรรมในบางครั้งงานศิลปะของเธอครอบคลุมถึงสตรีนิยม เพศ การวิเคราะห์วัฒนธรรมของเด็กสาวและโรมันนูโว เธอเป็นสมาชิกหนึ่งของกลุ่ม A Stubborn Bloom ซึ่งมีความสนใจเรื่องตัวแทนของความเป็นผู้หญิงในแฟชั่น ภาพยนตร์ และวัฒนธรรมทางวัตถุ

Stephanie Jane Burt Public Commission for Lock Route, 2017
Steel, Industrial Paint,
Dimensions Variable
Image courtesy of the artist