คะน้าเคล (Kale) ผักเคล ผักเมืองนอกปลูกได้ในไทย ปลูกได้ตลอดปีแม้มีพื้นที่จำกัด

เคล (Kale) ผักเมืองนอกปลูกได้ในไทย ปลูกได้ตลอดปีแม้มีพื้นที่จำกัด

เคล คะน้าเคล หรือคะน้าใบหยิก (Curl Leaf Kale) เป็นผักกินใบยอดฮิตที่ใคร ๆ ต่างก็อยากปลูกประดับสวนครัว โดยเฉพาะในกลุ่มคนรักสุขภาพ ไม่ว่าจะปลูกในกระถางก็ดีหรือปลูกลงแปลงก็งาม เนื่องจาก ผักเคล เป็นผักที่อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ จนได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งผักใบเขียว หรือ The Queen of Greens

เคล หรือ คะน้าเคล จัดเป็นพืชผักในวงศ์ Brassicaceae เช่นเดียวกับคะน้า กะหล่ำปลี บรอกโคลี และกะหล่ำดอก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea L. Acephala group ชื่อสามัญหลายชื่อ ได้แก่ Kale, Curl Leaf Kale และ Leaf Cabbage ผักเคล เป็นพืชอายุหลายปีแต่นิยมปลูกและเก็บเกี่ยวเหมือนพืชอายุ 1-2 ปี ใบไม่ห่อหัว มีทั้งแบบใบหยิกสีเขียว ใบหยิกสีม่วงถึงแดง ใบยาวสีเขียว และใบยาวสีม่วงถึงน้ำตาล แม้เคลเป็นผักต่างประเทศ แต่มีหลายสายพันธุ์ที่เติบโตได้ดีและให้ผลผลิตงามในบ้านเรา

เคล หรือ คะน้าเคล จัดเป็นพืชผักในวงศ์ Brassicaceae เช่นเดียวกับคะน้า กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ และกะหล่ำดอก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea L. (Acephala group) ชื่อสามัญหลายชื่อ ได้แก่ Kale, Curl Leaf Kale และ Leaf Cabbage เป็นพืชอายุหลายปี แต่นิยมปลูกและเก็บเกี่ยวเหมือนพืชอายุ 1-2 ปี ใบไม่ห่อหัว มีทั้งแบบใบหยิกสีเขียว ใบหยิกสีม่วงถึงแดง ใบยาวสีเขียว และใบยาวสีม่วงถึงน้ำตาล แม้เคลเป็นผักต่างประเทศ แต่มีหลายสายพันธุ์ที่เติบโตได้ดีและให้ผลผลิตงามในบ้านเรา สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่จะโตได้ไว มีทรงพุ่มสวยสมบูรณ์ ใบหยิกฟูและมีสีจัดมากที่สุดในช่วงหน้าหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม นอกจากปลูกกินแล้วยังประดับสวนได้สวยไม่แพ้ไม้ประดับทีเดียว

สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่จะโตได้ไว มีทรงพุ่มสวยสมบูรณ์ ใบหยิกฟูและมีสีจัดมากที่สุดในช่วงหน้าหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม นอกจากปลูกกินแล้วยังประดับสวนได้สวยไม่แพ้ไม้ประดับทีเดียว

คะน้าเคล ปลูกคะน้าเคล

นอกจากนี้เคลยังถือเป็นสุดยอดของอาหาร หรือ “Super Food” เนื่องจากเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามิน K , A และ C มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งโปรตีน แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม แมงกานีส มีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ โฟเลต และลูทีน ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน บำรุงเลือด ช่วยลดริ้วรอย ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และกำจัดสารพิษที่สะสมออกจากร่างกาย ทั้งยังแคลอรี่ต่ำ มีแป้งและไขมันต่ำมาก นิยมรับประทานสดเป็นสลัดและทำเครื่องดื่มสมู้ตทีเพื่อสุขภาพ สำหรับมือใหม่ที่อยากลองปลูกเคลเพื่อรับประทานเอง แบบไม่ต้องพึ่งสารเคมี ก็สามารถมีผักดี ๆ ให้เก็บกินได้ทุกวัน หรืออยากปลูกขายสร้างรายได้เสริม เรามีเทคนิคดี ๆ มาฝากค่ะ

เรานิยมปลูกเคลในกระถาง ดังนั้นไม่ว่าจะมีพื้นที่แค่ระเบียงคอนโด ที่ว่างข้างบ้านหรือหน้าบ้าน ขอเพียงมีแสงแดดส่องถึงบ้างก็สามารถปลูกเคลไว้รับประทานเองได้ การปรุงดินปลูกก็ไม่ยุ่งยาก สามารถนำดินที่มีอยู่มาผสมกับปุ๋ยคอก เช่น
– ดินร่วนผสมกับปุ๋ยคอก อัตรา 3 ต่อ 1
– ดินเหนียวผสมกับปุ๋ยคอก อัตรา 1 ต่อ 1
– ดินปลูกบรรจุถุงที่จำหน่ายในท้องตลาด ควรเลือกใช้ดินใบก้ามปูหรือดินขุยไผ่ แล้วนำมาผสมกับปุ๋ยคอก อัตรา 3 ต่อ 1
– ดินปลูกบรรจุถุงที่มีส่วนผสมของขุยมะพร้าวและขี้เถ้าแกลบมาก แนะนำให้ผสมกับปุ๋ยคอก อัตรา 2 ต่อ 1
หมักดินทิ้งไว้ 15-30 วัน ก่อนนำมาใช้ปลูก
 คะน้าเคล

คะน้าเคล เป็นผักที่ปลูกและดูแลง่ายคล้ายผักในตระกูลคะน้าที่เราคุ้นเคยกัน ต้องการแสงแดดตลอดวัน และให้น้ำสม่ำเสมอ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนปนเหนียวที่ระบายน้ำและอากาศดี มีปริมาณอินทรียวัตถุเพียงพอ

การปลูกเคลในกระถาง ควรปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 นิ้ว กระถางละ 1 ต้น รดน้ำวันละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) กระถางละ 20 กรัม ทุก 30 วัน การพรวนดินบ่อย ๆ จะช่วยให้ต้นเคลเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น สำหรับแมลงศัตรูที่สำคัญที่พบ ได้แก่ เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง สามารถฉีดพ่นน้ำบริเวณใต้ใบในช่วงเวลากลางวัน เพื่อรักษาความชื้นในทรงพุ่ม จะช่วยป้องกันเพลี้ยได้ หรือป้องกันกำจัดแมลงศัตรูด้วยสารชีวภัณฑ์ เช่น เชื้อราเมธาไรเซียมและบิวเวอเรีย

คะน้าเคล
การเพาะเมล็ดเคลนั้นทำได้ไม่ยาก อาจใช้วิธีหยอดหรือหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกเลยก็ได้ แต่ส่วนมากนิยมเพาะเมล็ดในถาดหลุมโดยใช้พีทมอสเป็นวัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงหลุมละ 2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นนำถาดเพาะเมล็ดไปวางไว้ในที่ร่มนาน 2-3 วัน รดน้ำเช้า-เย็น ใช้เวลาประมาณ 3-7 วันเมล็ดจะเริ่มงอก หลังจากเมล็ดงอกมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมา ให้ย้ายถาดเพาะไปวางในที่ที่ได้รับแสง 100 เปอร์เซ็นต์ และรดน้ำวันละ 2-3 ครั้ง เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 1-3 ใบ ให้ตัดต้นออกเหลือหลุมละ 1 ต้น แล้วย้ายปลูกลงแปลงหรือลงกระถางเมื่อต้นกล้ามีอายุ 15-18 วัน
คะน้าเคล

หากปลูกลงแปลงให้เพิ่มธาตุอาหารโดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้ากับดิน แล้วหมักทิ้งไว้ 15-30 วันก่อนลงปลูกก็ได้

การปลูกในแปลงนิยมใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร ยิ่งระยะปลูกมากก็ยิ่งดีเพราะเคลค่อนข้างโตเร็วและมีทรงพุ่มกว้าง อีกทั้งการปลูกระยะห่างจะช่วยป้องกันโรคและแมลงศัตรูได้ดี นอกจากนี้ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) เพื่อเพิ่มธาตุอาหารทุก 30 วัน

คะน้าเคล วิธีปลูก
พันธุ์คะน้าเคล
แม้เคลเป็นผักต่างประเทศ แต่มีหลายสายพันธุ์ที่เติบโตได้ดีและให้ผลผลิตงามในบ้านเรา สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่จะโตได้ไว มีทรงพุ่มสวยสมบูรณ์ ใบหยิกฟูและมีสีจัดมากที่สุดในช่วงหน้าหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงมกราคม ปัจจุบันมีหลากหลายสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศของไทย ส่วนอายุของต้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการเลี้ยงดูเอาใจใส่ของผู้ปลูกประกอบกัน สามารถปลูกเคลด้วยเทคนิคการปลูกพืชไร้ดิน เช่น การปลูกในวัสดุปลูก ระบบไฮโดรโปนิกส์ และระบบอะควาโปนิกส์ ก็ให้ผลผลิตดีไม่แพ้การปลูกลงดิน

คะน้าเคล
เคลใบหยิกสีเขียว Curly Green Kale

เคลไดโนเสาร์ Lacinato หรือ Dinosaur Kale หลังจากทยอยเก็บใบมารับประทานเรื่อย ๆ ต้นจะเริ่มยืดสูงขึ้น ซึ่งในบางสายพันธุ์สูงได้ถึง 2 เมตรทีเดียว

คะน้าเคล
Siberian Kale

พันธุ์คะน้าเคล ผักเคล
เคลใบหยิกสีม่วง Scarlet Kale

พันธุ์คะน้าเคล ผักเคล คะน้าเคล
Red Russian Kale
การเก็บเกี่ยวเคลสามารถทยอยตัดใบล่างไปรับประทานได้เรื่อย ๆ ตั้งแต่ต้นมีอายุ 45 วันเป็นต้นไป การเก็บแต่ละครั้งควรเหลือใบบนต้นสัก 6-7 ใบ เพื่อให้ต้นสังเคราะห์แสงและพร้อมแตกยอดใหม่ให้เก็บในรอบถัดไป เราสามารถนำเคลไปประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งต้ม ทอด และผัด สามารถใช้แทนคะน้าได้ทุกเมนู แต่นิยมรับประทานสดเป็นสลัดและทำเครื่องดื่มสมู้ตทีเพื่อสุขภาพ เพราะการปรุงเคลผ่านความร้อนจะทำให้สูญเสียวิตามินและสารอาหารบางส่วนไปพอสมควร
ผักเคล คะน้าเคล
อาจารย์เติ้ล – เกศศิรินทร์ แสงมณี อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผู้เขียนหนังสือ My Little Farm Vol.6 สมุนไพรไล่แมลง ทำใช้เองแบบง่าย ๆ
เรื่อง : อังกาบดอย
ภาพ : พรชิตา พลแก้ว
เอื้อเฟื้อภาพสายพันธุ์เคล ทพ. กษิดิศ วชิรปราการสกุล
ขอขอบคุณเทคนิคการปลูกเลี้ยงเคลจาก อาจารย์เติ้ล – เกศศิรินทร์ แสงมณี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ติดตามบ้านและสวน Garden&Farm