กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์เชื่อมติดกับตัวบ้านในบรรยากาศเปิดโปร่งเเบบ - บ้านและสวน

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น “กลาสเฮ้าส์” มุมพักผ่อนอเนกประสงค์ของครอบครัว

บ้านจัดสรรที่ได้รับการออกแบบตกแต่งสไตล์ลักชัวรี่ พร้อมมุมนั่งเล่นอเนกประสงค์เหมือนอยู่ใน “ กลาสเฮ้าส์ ” ที่เชื่อมติดกับตัวบ้าน ให้ความรู้สึกทั้งโปร่งโล่งเเละเปิดรับวิวสวนได้เต็มตา ชักชวนสมาชิกในครอบครัวออกมาใช้เวลาว่างพักผ่อนร่วมกัน 

DESIGNER DIRECTORY : เจ้าของ : คุณสารัช กมลธรไท/ สถาปนิก : Apostrophys Group     

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
ออกแบบให้มีส่วนต่อเติมพื้นที่สวนด้านข้าง เพื่อทำมุมนั่งเล่นคล้ายศาลาขนาดใหญ่ หลังคาด้านบนเป็นกระจกลามิเนตจึงได้เเสงเเละบรรยากาศคล้ายกลาสเฮ้าส์

จากความตั้งใจของ คุณสารัช กมลธรไท เจ้าของบ้านที่ต้องการให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อบอุ่น น่าอยู่ ทั้งสำหรับตัวเขาเองและภรรยา ลูกวัยเล็กอีก 2 คน และคุณปู่คุณย่าจากต่างจังหวัดซึ่งมักแวะมาเยี่ยมและพักด้วยเป็นครั้งคราว จึงเรียกได้ว่าบ้านนี้มีสมาชิกถึง 3 เจเนอเรชั่นที่มาอาศัยอยู่ร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้บ้านสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างหลากหลาย เจ้าของจึงปรึกษากับทีมสถาปนิกจาก Apostrophys Group เพื่อต่อเติมและตกแต่งบ้านใหม่ทั้งหลัง โดยได้รับการนำเสนอให้บ้านมีบรรยากาศแบบบ้านสร้างเอง ต่างจากบ้านหลังอื่น ๆ ในโครงการ พร้อมกันนั้นยังมีมุมพักผ่อนซึ่งถือเป็นไฮไลท์ของบ้าน นั่นคือศาลาอเนกประสงค์ที่มีลักษณะเหมือน กลาสเฮ้าส์ เปิดรับเเสงธรรมชาติเเละวิวสวนด้านนอกได้อย่างเต็มสายตา ลาสเฮ้า

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
เมื่อมองจากด้านข้างย้อนกลับไปจะพบช่องว่างเป็นพื้นที่สีเขียวเเทรกตัวระหว่างส่วนของบ้านโครงการกับส่วนต่อเติม หลังคามีผ้าม่านช่วยกรองเเสงเเละความร้อนได้ตามต้องการ
เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
พื้นที่ภายในส่วนต่อเติมนี้ประกอบด้วยโต๊ะรับประทานอาหาร เเละโซฟานั่งเล่น เพื่อเปิดรับวิวสวนด้านข้างบ้าน ด้านซ้ายเป็นทางเข้าห้องเด็ก โดยเลือกใช้ประตูกระจกบานใหญ่ ช่วยให้ดูเด็ก ๆ ได้จากส่วนนั่งเล่น
เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
ห้องเด็กซึ่งอยู่ภายในของส่วนต่อเติมจัดไว้เพื่อเด็กเล็กโดยเฉพาะ ในภาพคือลูกชายคนโตของคุณสารัชกำลังนั่งฟังคุณพ่อเล่านิทาน

“กลาสเฮ้าส์” เติมเต็มมุมพัก่อนให้บ้าน

การทำบ้านแต่ละปีจะมีเทรนด์แบบเป็นยุคสมัยไป แต่เราอยากให้บ้านหลังนี้อยู่ไปอีกสัก 40 50 ปี เพราะน่าจะเป็นที่ที่พ่อแม่ของผมมาใช้ชีวิตเกษียณ ปกติเขาจะอยู่ต่างจังหวัด พอเข้ากรุงเทพฯก็จะพักบ้านเก่าซึ่งไม่ค่อยสะดวก ส่วนโครงสร้างที่เป็นของเดิมไม่ได้ไปทำอะไรเลย จะมีแต่ส่วนของกลาสเฮ้าส์ที่เราก่อสร้างเพิ่มขึ้นมา คุณสารัชอธิบายถึงความตั้งใจในการทำบ้านหลังนี้

กลาสเฮ้าส์ที่คุณสารัชพูดถึงนี้ ถือเป็นส่วนต่อเติมที่เพิ่มขึ้นมาใหม่จากเเปลนเดิมของบ้านจัดสรรที่ให้มา ซึ่งถือเป็นไอเดียน่าสนใจของบ้านหลังนี้เลยก็ว่าได้ โดยสถาปนิกได้เลือกพื้นที่สวนด้านข้างของตัวบ้าน เพื่อทำเป็นส่วนต่อขยายโครงสร้างเชื่อมติดกับมุมนั่งเล่นภายในบ้าน เเต่เเยกฐานรากออกจากกัน ด้านบนเปิดเป็นหลังคากระจกลามิเนตขนาดใหญ่ช่วยให้แสงส่องสว่างไปทั่วทั้งบริเวณดูโปร่งตา เเต่หากต้องการจำกัดเเสงเเละความร้อนในช่วงเวลากลางวันไม่ให้จ้าเกินไป สามารถกดปิด-เปิดม่านม้วนอัตโนมัติช่วยกรองเเสงได้อย่างง่ายดาย ส่วนด้านหน้าออกแบบช่องเปิดเป็นประตูบานเฟี้ยมกระจกขนาดใหญ่ที่เปิดออกได้จนสุดสำหรับเปิดรับวิวสวนเเละลมเย็นสบายตลอดวัน เเละหากเปิดประตูนี้ออกทั้งหมดจะคล้ายกับศาลาที่ใช้งานได้อย่างเต็มที่ เดินเข้าได้ทั้งจากภายในบ้านและลงไปยังสวนได้โดยตรง ในส่วนนี้ด้านหลังยังมีมุมสำหรับใช้เป็นห้องเด็กโดยเฉพาะ เพื่อให้พ่อแม่สามารถดูลูกเล็ก ๆ ได้ขณะพักผ่อนอยู่ที่โซนนั่งเล่นของกลาสเฮ้าส์

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
ห้องโถงรับเเขกของบ้านส่วนนี้เป็นโครงการจากบ้านโครงการ สถาปนิกได้ตกเเต่งใหม่ในโทนสีครีม ทอง เเละน้ำตาล เพิ่มฉากสเตนเลสชุบสีทองอร่ามเพื่อเป็นจุดเด่นของพื้นที่ส่วนนี้
เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
จากมุมนั่งเล่นดูโทรทัศน์ด้านในสามารถเดินเชื่อมต่อไปยังมุมรับประทานอาหารซึ่งเป็นพื้นที่ของกลาสเฮ้าส์ได้ทันที โดยสถาปนิกได้ออกแบบด้วยการเชื่อมต่อกับโครงสร้างบ้านเดิมเเต่เเยกฐานรากออกจากกัน
เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
ชั้นสองของบ้านที่ขึ้นมาจากบันได พื้นที่เปิดในส่วนนี้ประกอบด้วยมุมนั่งเล่นขนาดเล็ก เเละโต๊ะทำงานของคุณสารัช ด้านชิดกำเเพง (ไม่เห็นภาพ) สามารถมองลงไปยังชั้นล่างได้ชัดเจน
เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
มุมทำงานที่ชั้นสอง ซึ่งเป็นมุมโปรดของเจ้าของบ้าน เพราะนอกจากจะมีของใช้ส่วนตัวเเล้ว ยังสามารถเห็นการเข้า-ออกของสมาชิกในบ้านได้ด้วย

เเต่งบ้านสไตล์ลักชัวรี่ หรูหราด้วยสีทอง

จทย์อย่างหนึ่งของบ้านหลังนี้ที่ตั้งอยู่ในโครงการบ้านจัดสรรคือ การตกแต่งให้เหมือนบ้านสร้างใหม่ขึ้นมาเอง ภายใต้เเนวคิด Timeless, Homey เเละ Luxury บรรยากาศภายในจึงเน้นตกแต่งสไตล์ลักชัวรี่ ไม่ต่างจากบรรยากาศสวยงามหรูหราอย่างในโรงเเรม เริ่มตั้งเเต่พื้นที่ชั้นล่างเมื่อเดินเข้าประตูมาจะมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่รับแขกและพื้นที่สำหรับดูหนังฟังเพลง เพื่อให้ดูเป็นสัดส่วนเจ้าของได้ทำฉากกั้น ซึ่งสามารถเลื่อนพับเก็บได้หากต้องการเปิดให้เป็นพื้นที่โล่งต่อกัน ตัวฉากเป็นสเตนเลสชุบทองออกแบบลายมาโดยเฉพาะและใช้เลเซอร์คัตตัดตามลายที่ออกแบบไว้ ขณะที่โถงรับแขกเพดานสูงโปร่งมีฉากสีทองกั้นพื้นที่ทั้งส่วนล่างและชั้นบน ซึ่งออกแบบให้ตรงกับ 1 ใน 3 แนวทางอันเป็นหัวใจของการตกแต่งบ้านหลังนี้ นั่นคือคำว่า “ลักชัวรี่” และยังเชื่อมต่อไปยังฉากของตู้หนังสือที่ชั้นสองของบ้าน เป็นมุมโปรดของคุณสารัชใช้เป็นห้องทำงานแบบเปิดโล่ง เพราะต้องการให้อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นการเข้าออกภายในบ้านได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ออกแบบมาให้ตอบรับกับการใช้งานและความชื่นชอบของผู้อยู่อาศัย อาทิ ลวดลายบนฉากสีทอง การวางแพตเทิร์นของหัวเตียง เเละการปูพรมตรงบันได นับเป็นงานที่ผู้ออกแบบทำการบ้านมาเพื่อให้บ้านมีความพิเศษในแบบเฉพาะตัว ซึ่งกลายเป็นความภาคภูมิใจของเจ้าของบ้านในการเรียกที่อาศัยแห่งนี้ว่า บ้าน ของตนเองอย่างแท้จริง

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน

เปลี่ยนสวนข้างบ้านเป็น กลาสเฮ้าส์ ศาลาอเนกประสงค์สำหรับพักผ่อน
การตกแต่งในห้องนอน ผนังหัวเตียงมีการวางลายหินต่างสีกัน ช่วยสร้างมิติให้พื้นที่มีความลึกที่ดูสวยงาม โดยบรรยากาศทั่วทั้งห้องยังคงความหรูหราสไตล์ลักชัวรี่เช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน
บ้านต่อเติมพื้นที่สวนด้านข้างเป็นกลาสเฮ้าส์
เเสงไฟในห้องเเต่งตัวจัดไว้เสมือนโชว์รูมสินค้า พร้อมโคมไฟเเขวนกลางห้องดูโดดเด่นรับกัน
บ้านต่อเติมพื้นที่สวนด้านข้างเป็นกลาสเฮ้าส์
มุมระเบียงบนชั้นสองได้รับการตกแแต่งไว้อย่างสวยงามสำหรับไว้รับลมเเละเเสงเเบบจำลอง
บ้านต่อเติมพื้นที่สวนด้านข้างเป็นกลาสเฮ้าส์
เจ้าของบ้านสวยหลังนี้กำลังนั่งอ่านหนังสือพักผ่อนในพื้นที่นั่งเล่นในส่วนต่อขยาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เรื่อง : สมัชชา วิราพร

ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล