เป็นภาพที่สวยงามมากเลยทีเดียวที่ได้เห็น ผนังต้นไม้ สีเขียวขึ้นเกาะเกี่ยวกับผนังอาคารเก่า เกิดเป็น Green Wall ที่มาจากธรรมชาติจริงๆ พบเห็นได้ทั่วไปนั่นคือกำแพงวัด ผนังตึกในย่านเมืองเก่า ผนังต้นไม้ ที่น่าสนใจอีกแห่งคือผนังอาคารที่ ล้ง1919 คอมมูนิตี้มอลล์ทางวัฒนธรรมแห่งล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานนี้ ล้ง 1919 รีโนเวตใหม่จากอาคารเก่าอายุกว่า 98 ปีให้ยังคงเสน่ห์ของสองวัฒนธรรมคือไทยจีน รักษาสถาปัตยกรรมในช่วงปี1919 สืบสานศิลปะโบราณไว้แต่มีความร่วมสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับกำแพงอาคารเก่าที่กลายเป็นจุดถ่ายรูปเช็คอินยอดฮิตซึ่งใครไปเที่ยวที่นี่จะต้องแวะเวียนไปจุดนี้กัน ผนังอาคารเก่ามีรอยกระเทาะปูนหลายจุด รอยแตกร้าวยังอยู่ มีต้นไม้น้อยๆ เกาะเกิดเป็นพุ่มสีเขียว คล้ายว่าจะเป็นการจัดแต่ง แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ สาเหตุที่ต้นไม้เหล่านี้เกิดและเติบโตบนกำแพงอาคารเก่าได้โดยที่ไม่มีดินนั้นมีหลายปัจจัยด้วยกันคือ 1 เนื่องจากการเสื่อมสภาพของวัสดุก่อสร้าง หากย้อนกลับไปเกือบ 100 ปีที่แล้ว อาคารส่วนใหญ่มักจะทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ อาทิ ไม้ อิฐมอญ ปูน อย่างกำแพงหรือผนังจะก่อสร้างโดยใช้วิธีก่ออิฐ ใช้อิฐมอญตันมือเป็นวัสดุ มีส่วนผสมของดินเหนียว แกลบ ขี้เถ้า ซึ่งเมื่ออิฐมอญตันมือเสื่อมสภาพตามอายุและเป็นแหล่งสะสมสารอาหารของต้นไม้ ทำเกิดสภาวะเหมาะสมที่ต้นไม้บางชนิดจะเติบโตและสามารถดูดซับสารอาหารในวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบนั้นได้ สารอาหารของพืชแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ธาตุอาหารหลัก (primary macronutrients) ซึ่งเรารู้จักกันดีคือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) โพรแทสเซียม(K) และยังมีธาตุอาหารรองอย่าง […]
ต้นพะยอม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Shorea roxburghii G.Don พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว
รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]